รายงานผลการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดมาตรา แม่กน
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดมาตรา แม่กน สำหรับ
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ศึกษา นางรจนา รินคำ
หน่วยงาน โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สำนักบริหารงาน
การศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดมาตรา แม่กน สำหรับ นักเรียนบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรณีศึกษา เป็นนักเรียนเพศชาย มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดมาตรา แม่กน จำนวน 5 ชุด แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) จำนวน 25 แผน ใช้เวลาจัดกิจกรรม จำนวน 25 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีลักษณะเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก ชุดฝึกเสริมทักษะละ 10 ข้อ รวมทั้งสิ้น 50 ข้อ รูปแบบการศึกษาครั้งนี้ ใช้รูปแบบ Single Subject Research Design – ABA แบบสลับกัน 3 ระยะ สลับกันจนครบทั้ง 5 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนที่ได้มาหาค่าร้อยละของชุดฝึกแต่ละชุด และนำค่าเฉลี่ยมาเขียนกราฟ
ผลการศึกษาพบว่า
1. กรณีศึกษาได้คะแนนจากการทดสอบและการทำแบบฝึกหัด จากชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่สะกดด้วยมาตรา แม่กน ทั้ง 5 ชุด ดังนี้
(1) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 1 เรื่อง คำที่ที่สะกดด้วยพยัญชนะ น ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 30 ร้อยละ 88 และ ร้อยละ 70 ตามลำดับ
(2) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 2 เรื่อง คำที่ที่สะกดด้วยพยัญชนะ ร ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 40 ร้อยละ 88 และ ร้อยละ 90 ตามลำดับ
(3) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 3 เรื่อง คำที่ที่สะกดด้วยพยัญชนะ ล ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 30 ร้อยละ 92 และ ร้อยละ 100 ตามลำดับ
(4) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 4 เรื่อง คำที่สะกดด้วยพยัญชนะ ญ ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 50 ร้อยละ 94 และร้อยละ 100 ตามลำดับ
(5) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 5 เรื่อง คำที่สะกดด้วยพยัญชนะ ณ ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 40 ร้อยละ 100 และร้อยละ 100 ตามลำดับ
2. คะแนนจากชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีมาตราสะกด แม่กน โดยรวมทั้ง 5 ชุด พบว่า
กรณีศึกษาได้คะแนนจากการทดสอบในระยะที่ 1 (A1) การทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ ร้อยละ 38 ระยะที่ 2 คะแนนระหว่างเรียน (B) เท่ากับ ร้อยละ 92.40 และระยะที่ 3 (A2) ทดสอบหลังเรียน เท่ากับ ร้อยละ 92 แสดงให้เห็นว่าคะแนนระหว่างเรียนและหลังเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน
และเมื่อนำคะแนนทั้ง 3 ระยะมาเขียนกราฟและหาค่าความชันของกราฟ พบว่า ในระยะที่ 1 (A1) การทดสอบก่อนเรียน กราฟมีความลาดหรือความชันเท่ากับ 2.5 ในระยะที่ 2 (B) ระหว่างเรียน กราฟเพิ่มขึ้น โดยมีความชันเท่ากับ 1.5 และในระยะที่ 3 (A2) ทดสอบหลังเรียน กราฟมีความชันเท่ากับ 7.5 ตามลำดับ ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าหลังจากแก้ปัญหากรณีศึกษา โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่สะกดด้วยมาตรา แม่กน กรณีศึกษามีคะแนนหลังเรียนเพิ่มสูงกว่าก่อนเรียน
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ศึกษา นางรจนา รินคำ
หน่วยงาน โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สำนักบริหารงาน
การศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดมาตรา แม่กน สำหรับ นักเรียนบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรณีศึกษา เป็นนักเรียนเพศชาย มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดมาตรา แม่กน จำนวน 5 ชุด แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) จำนวน 25 แผน ใช้เวลาจัดกิจกรรม จำนวน 25 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีลักษณะเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก ชุดฝึกเสริมทักษะละ 10 ข้อ รวมทั้งสิ้น 50 ข้อ รูปแบบการศึกษาครั้งนี้ ใช้รูปแบบ Single Subject Research Design – ABA แบบสลับกัน 3 ระยะ สลับกันจนครบทั้ง 5 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนที่ได้มาหาค่าร้อยละของชุดฝึกแต่ละชุด และนำค่าเฉลี่ยมาเขียนกราฟ
ผลการศึกษาพบว่า
1. กรณีศึกษาได้คะแนนจากการทดสอบและการทำแบบฝึกหัด จากชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่สะกดด้วยมาตรา แม่กน ทั้ง 5 ชุด ดังนี้
(1) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 1 เรื่อง คำที่ที่สะกดด้วยพยัญชนะ น ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 30 ร้อยละ 88 และ ร้อยละ 70 ตามลำดับ
(2) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 2 เรื่อง คำที่ที่สะกดด้วยพยัญชนะ ร ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 40 ร้อยละ 88 และ ร้อยละ 90 ตามลำดับ
(3) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 3 เรื่อง คำที่ที่สะกดด้วยพยัญชนะ ล ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 30 ร้อยละ 92 และ ร้อยละ 100 ตามลำดับ
(4) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 4 เรื่อง คำที่สะกดด้วยพยัญชนะ ญ ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 50 ร้อยละ 94 และร้อยละ 100 ตามลำดับ
(5) คะแนนจากการเรียนด้วยชุดฝึกที่ 5 เรื่อง คำที่สะกดด้วยพยัญชนะ ณ ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 40 ร้อยละ 100 และร้อยละ 100 ตามลำดับ
2. คะแนนจากชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีมาตราสะกด แม่กน โดยรวมทั้ง 5 ชุด พบว่า
กรณีศึกษาได้คะแนนจากการทดสอบในระยะที่ 1 (A1) การทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ ร้อยละ 38 ระยะที่ 2 คะแนนระหว่างเรียน (B) เท่ากับ ร้อยละ 92.40 และระยะที่ 3 (A2) ทดสอบหลังเรียน เท่ากับ ร้อยละ 92 แสดงให้เห็นว่าคะแนนระหว่างเรียนและหลังเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน
และเมื่อนำคะแนนทั้ง 3 ระยะมาเขียนกราฟและหาค่าความชันของกราฟ พบว่า ในระยะที่ 1 (A1) การทดสอบก่อนเรียน กราฟมีความลาดหรือความชันเท่ากับ 2.5 ในระยะที่ 2 (B) ระหว่างเรียน กราฟเพิ่มขึ้น โดยมีความชันเท่ากับ 1.5 และในระยะที่ 3 (A2) ทดสอบหลังเรียน กราฟมีความชันเท่ากับ 7.5 ตามลำดับ ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าหลังจากแก้ปัญหากรณีศึกษา โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่สะกดด้วยมาตรา แม่กน กรณีศึกษามีคะแนนหลังเรียนเพิ่มสูงกว่าก่อนเรียน